ข่าว Forex ที่ห้ามมองข้าม

แม้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ในตลาด Forex เป็นเทรดเดอร์สายวิเคราะห์กราฟด้วยเทคนิคคอล แต่การดูข่าว Forex ก็ย่อมช่วยในการวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการบ่งบอกถึงความเสี่ยงหรือการแกว่งตัวอย่างรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ โดยเฉพาะข่าว Forex อย่างเช่น Non-Farm(นอนฟาร์ม) ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจข่าเหล่านี้กัน แต่ถ้าหากใครยังไม่รู้ว่าข่าวเหล่านี้ดูยังไง เอามาจาก
ไหน สามารถดูรายละเอียดการอ่านข่าวได้ที่บทความ “Forex วันนี้! การดูข่าว Forex การเทรด
Forex จากข่าว (Forex Calendar) จาก Forex Factory

1.ข่าว Non-Farm (นอนฟาร์ม)
Non-Farm (นอนฟาร์ม) เป็นข่าวที่มีผลกระทบต่อสกุลเงินมาก เทรดเดอร์หลายคนคงเคยได้ยินข่าวนี้ แต่เทรดเดอร์หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักข่าว Non-Farm (นอนฟาร์ม) โดยข่าวนอนฟาร์มเป็นข่าวที่มักจะประกาศในทุกสัปดาห์ของต้นเดือน ส่วนใหญ่แล้วมักจะประกาศวันพฤหัสบดีและวันศุกร์แรกของเดือน โดยตัวเลขของข่าว Non-Farm (นอนฟาร์ม) เป็นตัวเลขของการจ้างงานของคนในธุรกิจต่างๆ ยกเว้นเกษตรกรรมหากตัวเลขที่ออกมาสูงกว่าค่าที่คาดการณ์ถือว่าเป็นข่าวดี มีการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น มีการจ้างงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สกุลเงินนั้นเป็นบวก หากตัวเลขที่ประกาศออกมามีค่าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ถือว่าไม่ดีเพราะนั่นหมายถึง มีการใช้จ่ายน้อย มีการจ้างงานน้อยลง ส่งผลให้สกุลเงินนั้นตกลงสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่หากยังไม่มั่นใจในตัวเอง แนะนำว่าช่วงที่มีข่าว Non-Farm(นอนฟาร์ม)ให้งดซื้อขายไปก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผันผวนของราคาในช่วงที่มีข่าว

2.ข่าวUnemployment Rate
ข่าว Uemployment Rate เป็นข่าวที่มักจะประกาศในวันเดียวกับข่าว Non-Farm(นอนฟาร์ม) เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงอัตราการว่างงาน หากตัวเลขที่ออกมาเยอะหมายถึงมีอัตราการว่างงานสูง ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ส่งผลให้สกุลเงินนั้นปรับตัวลง หากตัวเลขที่ออกมาน้อยหมายถึงมีอัตราการว่างงานต่ำ เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ส่งผลให้สกุลเงินนั้นปรับตัวขึ้น

3.ข่าว GDP (Gross Domestic Product)
ข่าว GDP (Gross Domestic Product) เป็นข่าวที่บ่งบอกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยใช้มูลค่าทางการเงินของสินค้าและบริการเป็นตัวชี้วัดหากตัวเลขออกมาสูงหมายถึง เศรษฐกิจดี ส่งผลให้สกุลเงินนั้นปรับตัวขึ้น หากตัวเลขออกมาต่ำหมายถึง เศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลให้สกุลเงินนั้นปรับตัวลง

4.ข่าว Trade Balance (ดุลการค้า)
เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความแตกต่าง สัดส่วนของการนำเข้าและส่งออกของสินค้าและบริการหากตัวเลขสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้หมายถึง มีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า ดุลการค้าจะเป็นบวก ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวสูงขึ้น หากตัวเลขต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้หมายถึง มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดุลการค้าจะเป็นลบ ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวต่ำลง

5.ข่าว Retail Sales (ยอดค้าปลีก)
เป็นตัวเลขที่บ่งบอกการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยวัดจากยอดขายของการค้าปลีก มักจะประกาศในช่วงวันที่ 13 ของเดือนหรือช่วงเดือนหากตัวเลขออกมาสูงหมายถึง มีการค้าปลีกสูงขึ้น เศรษกิจดี ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวสูงขึ้น หากตัวเลขออกมาต่ำหมายถึง มีการค้าปลีกต่ำลง เศรษกิจไม่ดี ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวต่ำลง

6.ข่าว Unemployment Claims
ข่าว Unemployment Claims เป็นข่าวที่แสดงถึงตัวเลขผู้ที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน มักจะประกาศออกมาในทุกวันพฤหัสบดีหากตัวเลขออกมาสูงหมายถึง มีคนว่างงานมากขึ้น ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวต่ำลง หากตัวเลขออกมาต่ำหมายถึง มีคนว่างงานน้อยลง ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวสูงขึ้น

7.ข่าว Producer Price Index (PPI)
Producer Price Index (PPI) เป็นข่าวที่แสดงถึงดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นเสมือนตัววัดราคาของสินค้าในการค้าส่งหากตัวเลขออกมาสูง ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวสูงขึ้น หากตัวเลขออกมาต่ำ ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวต่ำลง

8.ข่าว Consumer Price Index (CPI)
Consumer Price Index (CPI) เป็นข่าวที่แสดงถึงดัชนีราคาผู้บริโภค ตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหามาบริโภคเป็นประจำหากตัวเลขออกมาสูง ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวสูงขึ้น หากตัวเลขออกมาต่ำ ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวต่ำลง

9.ข่าว FOMC (Federal Open Market Committee)
เป็นข่าวการประชุมครั้งสำคัญของคณะกรรมการกำหนดนโยบายและเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐหรือ Fed ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ มักจะส่งผลต่อสกุลเงินอย่างรุนแรง มักส่งผลให้สกุลเงินแกว่งตัวมากกว่าปกติ
หากตัวเลขออกมาสูง ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวสูงขึ้น หากตัวเลขออกมาต่ำ ส่งผลให้สกุลเงินปรับตัวต่ำลง

Visitors: 1,021,690