Broker (โบรกเกอร์) ในตลาด Forex คืออะไร

การซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศหรือตลาด Forex จะต้องซื้อขายผ่านโบรกเกอร์เท่านั้น แต่โบรกเกอร์ทั้งหมดในตลาด Forex จะเป็นโบรกเกอร์จากต่างประเทศ เนื่องจากว่าในปัจจุบันตลาด Forex ยังไม่มีกฎหมายรองรับในประเทศไทยจึงทำให้โบรกเกอร์ในตลาด Forex ยังไม่สามารถก่อตั้งบริษัทภายในประเทศไทยได้

โบรกเกอร์ในตลาด Forex ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อรับส่งคำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์ไปยังตลาดกลาง ซึ่งเทรดเดอร์รายย่อยไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางได้ด้วยตัวเอง โบรกเกอร์จึงมีหน้าที่รวบรวมคำสั่งซื้อขายเหล่านี้จากเทรดเดอร์แล้วส่งไปยังตลาดกลางเพื่อซื้อขายอีกที แสดงว่าทุกคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์ที่เป็นกำไรหรือขาดทุน จะไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของโบรกเกอร์เพราะโบรกเกอร์ส่งต่อคำสั่งซื้อขายไปในตลาด Forex อีกที จะได้กำไรมากน้อยหรือขาดทุนโบรกเกอร์จะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียตรงนี้

ตัวอย่างการทำงานของโบรกเกอร์
นาย A เป็นเพื่อนกับนาย B นาย B กำลังจะไปตลาด ในขณะเดียวกันนาย A ต้องการจะซื้อหมูปิ้งแต่เขาก็ไม่ว่างที่จะไปซื้อด้วยตัวเอง นาย A จึงฝากนาย B ซื้อและเขาให้เงินนาย B ไปจำนวนเงิน 20 บาท ปรากฎว่านาย B ซื้อหมูปิ้งมาด้วยราคา 15 บาท เมื่อนาย B กลับมาถึงบ้าน ได้นำปิ้งหมูและเงินทอนให้นาย A แต่นาย A ไม่รับเงินทอนแทนค่าน้ำใจที่นาย B ซื้อหมูปิ้งให้ เป็นจำนวนเงิน 5 บาท

จากตัวอย่างดังกล่าว
นาย A เปรียบเสมือนเทรดเดอร์รายย่อยในตลาดทั่วไป นาย B เปรียบเสมือนโบรกเกอร์ในตลาด Forex ที่รับคำสั่งซื้อจากนาย B เพื่อไปซื้อในตลาด โดยนาย B ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการซื้อในครั้งนี้ เพราะหมูปิ้งเป็นของแม่ค้าในตลาด นาย B เป็นเพียงตัวกลางเท่านั้น ในตลาด Forex ก็เช่นเดียวกันโบรกเกอร์จะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับคำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์ เนื่องจากว่าโบรกเกอร์เป็นเพียงตัวกลางเพื่อรับคำสั่งจากที่หนึ่งไปส่งอีกที่หนึ่งเงินทอน เปรียบเสมือนค่าบริการของโบรกเกอร์ ซึ่งในความเป็นจริงโบรกเกอร์คิดว่าบริการถูกมาก

Broker แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. Dealing Desk(DD) หรือ Market Maker
โบรกเกอร์ประเภทนี้ไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์ไปยังตลาดกลาง Forex ถ้าอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ โบรกเกอร์ประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นเจ้ามือเอง คำสั่งซื้อขายที่คุณส่งไปก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อมีการซื้อขายโบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา เช่น ถ้าเรา buy โบรกเกอร์ก็จะจับคู่กับคนที่ Sell เมื่อออร์เดอร์ Buy เป็นกำไรโบรกเกอร์ก็จะเอาเงินของออร์เดอร์ Sell มาให้เรา หรือโบรกเกอร์จับคู่เรากับเจ้าตัวโบรกเกอร์เองเลย(เจ้ามือ) เป็นต้นและราคาที่เราเห็นในโบรกเกอร์ประเภทนี้จะเป็นราคาที่โบรกเกอร์เป็นตัวกำหนดขึ้นมาเอง กราฟราคาที่เห็นนั้นเป็นราคาปลอม เป็นราคาที่โบรกเกอร์สร้างขึ้นเอง แต่ส่วนใหญ่โบรกเกอร์ประเภทนี้จะอ้างอิงมาจากตลาดจริงจะไม่สร้างกราฟให้ปลอมจนเกินไปจนนักลงทุนจับได้ รายได้ของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมาจากสเปรดลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีสเปรดคงที่ กราฟราคาจะแกว่งแรงจนน่าตกใจและค่าบริการต่างๆจะค่อนข้างถูก

2. Non Dealing Desk (NDD)

โบรกเกอร์ประเภทนี้จะส่งคำสั่งซื้อขาย จากเทรดเดอร์เข้าสู่ตลาดกลางForex โบรกเกอร์ประเภทนี้จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนนายหน้าพ่อค้าคนกลาง คือรับคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์แล้วส่งไปยังตลาดกลาง Forex โดยจะไม่เก็บออร์เดอร์ไว้กับตัวเอง ราคากราฟที่แสดงนั้นจะเป็นราคาของตลาดกลางเลยลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีสเปรดที่ไม่คงที่และอาจจะมีค่าคอมมิชชั่น แล้วค่าบริการต่างก็จะมีราคาสูงกว่าแบบ Dealing Desk (DD)

ควรจะเลือกเทรดโบรกเกอร์(Broker) ประเภทไหน?
โบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน เทรดเดอร์ควรเลือกประเภทของโบรกเกอร์ให้ตรงต้องการของตัวเองมากที่สุด แต่อย่างไรก็ควรดูราละเอียดเงื่อนไขของโบรกเกอร์แต่ละบริษัทให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะความน่าเชื่อถือ เพราะถ้าเลือกโบรกเกอร์ที่ดีเงินลงทุนของคุณก็ปลอดภัยในปัจจุบันโบรกเกอร์มีการแข่งขันกันสูงมาก แต่ละโบรกเกอร์พยายามสร้างโปรโมชั่นออกมาอย่างมากมาย ทำให้เกิดการแข่งขันทางราคาสูง มีการลดค่าคอมมิชชั่น ลดค่าสเปรด (ค่า Spread) จึงทำให้โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) มีค่าบริการที่ถูกไม่ต่างจากโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk(DD) เลย ทำให้โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) น่าเทรดกว่าอย่างชัดเจนครับ

Visitors: 1,021,691